“พระแม่ลักษมี” หนึ่งในเทพีที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวฮินดู เนื่องด้วยเป็นพระชายาของพระวิษณุ และเชื่อกันว่าเป็นผู้ประทานพรในเรื่องความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ศรัทธา
ในเทศกาลดิวาลีที่จะถึงนี้ (วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566) ชาวฮินดูบางฝ่ายเชื่อว่าเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระแม่ลักษมี จึงนิยมบูชาพระแม่ลักษมีในวันดังกล่าวเพื่อสรรเสริญและขอพรพระองค์
“ดิวาลี 2566” ตรงกับวันไหน เปิดประวัติเทศกาลแห่งแสงสว่าง-บูชาพระแม่ลักษมี
ประวัติ “พระแม่ลักษมี” เทพีแห่งความงามผู้ประทานพรด้านความรัก-โชคลาภ
พระแม่ลักษมีเป็นอะไรกับพระพิฆเนศ ไขข้อสงสัยทำไมคนนิยมบูชาคู่กัน
วาเลนไทน์ 2567 เปิดพิกัดไหว้ขอพร "พระแม่ลักษมี" พร้อมวิธีมูยังไงให้ได้แฟน
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของพระแม่ลักษมีที่เราพบเห็นส่วนใหญ่ มักปรากฏในรูปของสตรีมี 4 กร สวมศิราภรณ์ในวรรณะกษัตริย์ ด้านข้างขนาบด้วยช้างสองเชือกกำลังรดน้ำบนพระเศียร และพระหัตถ์ทั้งสองถือดอกบัว เรียกว่า “คชลักษมี” (Gaja Lakshmi)
แต่พระแม่ลักษมีไม่ได้มีแค่ปางเดียว ยังมีปางอวตารสำคัญ ๆ อีก 7ปาง วันนี้ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี จึงขออาสาพาไปรู้จักปางหลัก ๆ ทั้งหมดของพระแม่ลักษมีกัน เผื่อใครอยากรู้ว่าตัวเองกำลังไหว้ปางอะไร หรือกำลังมองหาปางที่ชอบเพื่อบูชา จะได้รู้ว่าควรบูชาปางไหนดี
พระเเม่ลักษมี 8 ปาง
จากคัมภีร์ปุราณะต่าง ๆ ปรากฏพระแม่ลักษมีอยู่มากมายหลายภาคหลายปาง จึงไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนว่า 8 ปางหลักนั้นคือปางใดบ้างจากทั้ง 9 ปางดังต่อไปนี้
1.) วีรลักษมี (Veera Lakshmi) ปางแห่งวีรชน นักสู้
มี 8 กร สวมพัสตราภรณ์สีแดง พระหัตถ์ถือจักร สังข์ คันธนู ศรีศูนย์ พระขรรค์ โล่ฑมรุ(กลองสองหน้า) คัมภีร์ หรือสิ่งของที่เป็นอาวุธ มักบูชาก่อนการสู้รบเพื่อพลังและความกล้าหารของเหล่าทหาร อย่างไรก็ตามหากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก
2.) คชลักษมี (Gaja Lakshmi) ปางที่เรามักพบเห็นขององค์พระแม่ลักษมี
มี 4 กร สวมศิราภรณ์ในวรรณะกษัตริย์ ด้านข้างขนาบด้วยช้างสองเชือกกำลังรดน้ำบนพระเศียร
3.) สันทนลักษมี (Santhana Lakshmi) ปางแห่งครอบครัว ความผูกพันระหว่างแม่ลูก
มี 6 – 2 กรหลังสุดถือหม้อน้ำและมีกุมารนั่งบนตัก เป็นปางพระลักษมีซึ่งนิยมบูชาเพื่อขอบุตร อย่างไรก็ตามหากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก
4.) วิชัยลักษมี (Vijaya Lakshmi) ปางแห่งชัยชนะและความแคล้วคลาดพ้นภัย
มี 8 กร พระหัตถ์ถือสิ่งของต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งของที่เป็นอาวุธ เช่น จักร พระขรรถ์ โล่ บ่วง สังข์ ดอกบัว มักนิยมบูชาก่อนออกรบ อย่างไรก็ตามหากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก
5.) ธนลักษมี (Dhana Lakshmi) ปางแห่งทรัพย์สมบัติ เงินทอง
รูปกายสีขาว มี 4-6 กร พระหัตถ์ถือรวงข้าว หอยสังข์ หม้อน้ำหรือสิ่งที่เเสดงความอุดมสมบูรณ์พระหัตถ์หนึ่งมีเงินทองโปรยลงพื้น บางครั้งมีไหเงิน ไหทองบนพระเพลา ประทานความร่ำรวยให้ทรัพย์สินแห่ผู้บูชา อย่างไรก็ตามหากต้องการบูชา จำพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก
6.) ธัญญลักษมี (Dhanya Lakshmi) ปางแห่งความอุดมสมบูรณ์ในพืชพรรณ
มี 4 – 8 กร สวมพัสตราภรณ์สีเขียว ประทับนั่งบนดอกบัวพระหัตถ์ถือพระขรรค์ คฑา กล้วย รวงข้าว ดอกบัว สังข์ ขึ้นอยู่กับคำภีร์ โดยธัญญลักษมี เป็นอวตารที่รู้จักกันในชื่อ พระเเม่โพสพเทพีแห่งข้าวเเละความอุดมสมบูรณ์
7.) อธิลักษมี (Adhi Lakshmi) ปางแห่งสุขภาพ
เป็นอวตารของพระลักษมีในฐานะของบุตรีแห่งฤาษีภฤคุ มี 4 กร พระหัตถ์ซ้ายหลังถือธงพระหัตถ์ขวาหลังถือดอกบัว พระหัตถ์หน้าซ้ายทำท่าประทานพร พระหัตถ์หน้าขวาทำท่าประทานอภัย เป็นปางพระลักษมีมีซึ่งนิยมบูชาในด้านสุขภาพ อย่างไรก็ตามหากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก
8.) ไอศวรรยลักษมี (Aiswarya Lakshmi) ปางแห่งความมั่งคั่ง
มี 4 กร พระหัตถ์ถือดอกบัว สวมพัสตราภรณ์ไม่ปักลายหรือสีสด
9.)วิทยลักษมี (Vidya Lakshmi) ปางแห่งความรอบรู้ การศึกษา
มี 4 กร สวมพัสตราภรณ์สีขาว สองพระหัตถ์หน้าทำท่าประทานอภัยปละประทานพร สองพระหัตถ์หลังถือคัมภีร์พระเวทย์และขนนก ได้รับการนับถือในฐานะเทพีแห่งความรู้เช่นเดียวกับพระแม่สรัสวดี (บางครั้งปรากฏแทนที่ปางไอศวรรยลักษมี)
ขอบคุณข้อมูลจาก :เว็บท่ากรมศิลปากร และ สยามคเณศ
ขอบคุณภาพจาก : เว็บท่ากรมศิลปากร และ Freepik
เผยโฉม 86 สาวงาม ชิง Miss Universe 2023 เงื่อนไขใหม่สาวข้ามเพศ-แต่งงาน-มีลูก เข้าประกวดลุ้นมง
โออาร์-บางจาก ลดเบนซินทุกชนิด สูงสุด 2.50 บาท มีผล 7 พ.ย.66 ตามมติ ครม.
สื่อนอกประเมิน นักท่องเที่ยวจีนกำลังหายไปจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย คำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท