การ “หย่าร้าง” หรือ “เลิกรา” คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชีวิตคู่ของคนที่รักกันสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะเกิดจากการไปด้วยกันไม่ได้ ไลฟ์สไตล์ไม่ตรงกัน เป็นเพื่อนกันดีกว่า หรือร้ายแรงกว่านั้นก็คือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนอกใจ ทำร้ายร่างกาย ฯลฯ
แต่ทราบหรือไม่ว่า ในหมู่ “นก” เอง ซึ่งเป็นสัตว์ที่บางคนอาจจะคิดว่าเป็นสัตว์ที่มีคู่ครองเพียงหนึ่ง ความจริงแล้วก็มีพฤติกรรมเลิกราหย่าร้างไม่แตกต่างจากมนุษย์เช่นกัน
เป็นที่เชื่อกันว่า 90% ของสายพันธุ์นกบนโลก มักจะมีคู่เดียวตลอดฤดูผสมพันธุ์อย่างน้อยหนึ่งฤดู อย่างไรก็ตาม นกที่มีคู่ตัวเดียวบางตัวจะเปลี่ยนไปหาคู่ใหม่ในฤดูผสมพันธุ์อื่น แม้ว่าคู่เดิมของมันจะยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “การหย่าร้าง”
ล่าสุดทีมนักวิจัยจากจีนและเยอรมนีรายงานว่า พวกเขาพบปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่เกี่ยวข้องกับการหย่าร้างของนกหลากหลายสายพันธุ์ คือ “ความหลายใจของนกตัวผู้” และ “การอพยพย้ายถิ่นฐาน”
นักวิจัยอธิบายว่า พวกเขาดึงข้อมูลจากงานวิจัยอื่น ๆ ที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับอัตราการหย่าร้างของนก 232 สายพันธุ์ พร้อมข้อมูลการตายและระยะทางอพยพของพวกมันมาศึกษา และได้ให้ “คะแนนความหลายใจ” ของนกตัวผู้และตัวเมียจากแต่ละสปีชีส์
พวกเขายังทำการวิเคราะห์ตามความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างสปีชีส์ เพื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอาจมีอิทธิพลต่ออัตราการหย่าร้าง
ผลการวิจัยพบว่า สายพันธุ์นกที่มีความใกล้เคียงกันในสายวิวัฒนาการ จะมีอัตราการหย่าร้างใกล้เคียงกัน “ตัวอย่างเช่น นกหัวโต นกนางแอ่น นกขมิ้น และนกแบล็กเบิร์ด มีอัตราการหย่าร้างและพฤติกรรมตัวผู้หลายใจที่สูง ในขณะที่นกอีแร้ง นกอัลบาทรอส ห่าน และหงส์ มีอัตราการหย่าร้างและพฤติกรรมตัวผู้หลายใจที่ต่ำ”คำพูดจาก สล็อต888
ในขณะที่นักวิจัยพบว่า ในนกตัวผู้ ความหลายใจและอัตราการหย่าร้างจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในกรณีของความหลายใจของนกตัวเมีย กลับไม่เป็นอย่างนั้น
ดร.ซ่ง จื่อถาน จากสถาบันพฤติกรรมสัตว์มักซ์พลังค์ในเยอรมนี หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า ทีมวิจัยยังพบว่า สายพันธุ์นกที่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นระยะทางไกล จะมีอัตราการหย่าร้างสูงกว่า
“หลังการย้ายถิ่นฐาน คู่อาจมาถึงปลายทางไม่พร้อมกัน ซึ่งนำไปสู่สถานการณ์ที่ทำให้นกต้องไปผสมพันธุ์กับตัวอื่น ส่งผลให้เกิดการ ‘หย่าร้าง’ การย้ายถิ่นยังอาจนำไปสู่การตั้งถิ่นฐานในแหล่งเพาะพันธุ์ที่แตกต่างกัน ผลกระทบนี้ทวีความรุนแรงขึ้นตามระยะทางการอพยพที่เพิ่มขึ้น” ซ่งกล่าว
เขาเสริมว่า การย้ายถิ่นที่มีระยะทางไกล แปลว่าต้องใช้เวลานาน ทำให้ช่วงเวลาสำหรับการผสมพันธุ์แคบลง “การหย่าร้างทำให้พวกมันสามารถผสมพันธุ์ได้ทันทีเมื่อมาถึง แทนที่จะรอคู่ครองตัวก่อนหน้า”
ทีมวิจัยกล่าวว่า ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การหย่าร้างของนกอาจไม่ใช่แค่กลยุทธ์ในการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายของนกแต่ละตัว หรือการตอบสนองต่อปัจจัยทางนิเวศวิทยา เช่น การย้ายถิ่น แต่อาจได้รับผลกระทบจากทั้งสองอย่างควบคู่กัน
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก AFP