บริษัทโตเกียวพลังงานไฟฟ้า หรือเทปโก (TEPCO) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ระบุว่า ได้เริ่มปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านมาการบำบัดแล้วเมื่อเวลา 13.03 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 11.03 น. เวลาประเทศไทย โดยบริษัทยังไม่พบความผิดปกติใดๆ กับเครื่องปั๊มและระบบต่างๆ โดยรอบ
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือไอเออีเอ (IAEA)ซึ่งรับรองแผนดังกล่าว ได้ส่งเจ้าหน้าที่ติดตามกระบวนการปล่อยน้ำที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะในวันนี้ด้วย ขณะที่พนักงานของเทปโกจะเก็บตัวอย่างน้ำทะเลเพื่อตรวจสอบต่อไป
น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ถูกปล่อยสู่ทะเลนี้เป็นน้ำที่ใช้หล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะที่เกิดการหลอมละลาย หลังเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อปี 2011 น้ำปนเปื้อนเหล่านี้ ซึ่งมี่ปริมาณมากกว่า 1.3 ล้านตัน หรือสระว่ายน้ำโอลิมปิก 500 สระ ถูกเก็บไว้ในแท็งก์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะมานานกว่าสิบปี และไม่มีที่จัดเก็บแล้ว การปล่อยน้ำครั้งแรกกำหนดปริมาณไว้ที่ 7,800 คิวบิกเมตร หรือเทียบเท่าสระว่ายน้ำโอลิมปิก 3 สระ โดยจะใช้เวลาทั้งหมด 17 วัน ญี่ปุ่นตัดสินใจเมื่อสองปีก่อนว่าจะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล หลังผ่านการบำบัดเพื่อกำจัดธาตุกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ ยกเว้นทริเทียมที่ไม่สามารถแยกออกได้ แต่ใช้วิธีทำให้เจือจางลง ซึ่งปริมาณทริเทียมในน้ำปนเปื้อนปล่อยสู่ทะเลอยู่ที่ 1,500 เบ็กเคอเรลต่อลิตร ต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้สำหรับน้ำดื่ม 6 เท่า ญี่ปุ่นยืนกรานว่าการปล่อยน้ำปนเปื้อนมีความปลอดภัย ขณะที่ IAEA ได้อนุมัติแผนปล่อยน้ำในเดือนก.ค. โดยระบุว่า ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการดังกล่าวมีน้อยมากคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
ญี่ปุ่นกังวลปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสี-ต่างชาติเมินจะเที่ยวต่อ
ฮ่องกงเตรียมแบนอาหารทะเล 10 จังหวัดญี่ปุ่น ปมปล่อยน้ำเสียฟุกุชิมะ
ญี่ปุ่นโชว์ความปลอดภัย “น้ำเสียฟุกุชิมะ” ไลฟ์สดชีวิตปลาในน้ำที่ผ่านการบำบัด
อย่างไรก็ตาม การปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีแม้จะผ่านการบำบัดแล้วนำมาซึ่งการประท้วงทั้งในญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและเกาหลีใต้ โดยไม่กี่ชั่วโมงก่อนการปล่อยน้ำ ชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันหน้าสำนักงานใหญ่ของเทปโกในกรุงโตเกียว เพื่อเรียกร้องให้บริษัทรักษาสัญญาที่เคยให้ไว้ว่าจะเก็บน้ำปนเปื้อนในแท็งก์
ส่วนที่เกาหลีใต้ นักศึกษาเกาหลีใต้กลุ่มหนึ่งได้บุกเข้าไปในอาคารที่เป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นในกรุงโซล โดยบุกไปถึงชั้น 8 ที่เป็นที่ตั้งของสถานทูตและแขวนป้ายประณามการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ก่อนที่ตำรวจจะควบคุมนักศึกษาอย่างน้อย 14 คน ออกจากอาคารและขึ้นรถไป ขณะที่ที่เมืองปูซาน นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 30 คน ได้รวมตัวกันที่ชายหาดแฮอึนแด โดยบางส่วนถือป้ายและวางผืนผ้าประท้วงอยู่บนชายหาด ขณะที่บางส่วนขึ้นเรือยนต์โบกธงประท้วงอยู่ในทะเล ผลสำรวจเมื่อเดือนก.ค.พบว่า ชาวเกาหลีใต้ 62 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าจะลดหรือหยุดทานอาหารทะเลทันทีที่เริ่มมีการปล่อยน้ำ แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีใต้จะให้ความมั่นใจว่าจะติดตามอย่างใกล้ชิด ล่าสุด นายกรัฐมนตรีฮัน ด็อกซู ของเกาหลีใต้ แถลงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและรับผิดชอบ เกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะในช่วง 30 ปีหลังจากนี้ ส่วนจีน ซึ่งเป็นประเทศที่แสดงความไม่พอใจต่อการปล่อยน้ำปนเปื้อนลงสู่ทะเลของญี่ปุ่นมากที่สุด ล่าสุด สำนักงานศุลกากรของจีนได้ประกาศระงับการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมดแล้ว จากที่ก่อนหน้านี้ ประกาศห้ามเพียง 10 จังหวัด โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคชาวจีน จีนเป็นตลาดส่งออกอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022
ภาพ: AFP